วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 15 การกู้คืนข้อมูล

1) คลิกขวาที่ My Computer เลือก Properties

2) เมนูทางด้านซ้ายมือ เลือก System Protection


3) จากนั้นเข้าที่แท็บ System Protection แล้วดูว่า ไดร์ฟที่เราจะทำการ Restore นั้น อยู่ในสถานะ On หรือไม่ ถ้าไม่ ให้เปลี่ยนเป็น On โดยการคลิกที่ปุ่ม Configure แต่ถ้าไดร์ฟนั้นอยู่ในสถานะ On อยู่แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Create


4) ตั้งชื่อจุด Restore ตามใจชอบ


5) รอซักครู่ครับ



6) ถ้าหากเจอ Status แบบนี้ แสดงว่า เสร็จครบทุกขั้นตอนครับ


7) จากนั้นถ้าหากในอนาคตคุณเผลอลบไฟล์สำคัญอีก ก็แค่คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่ไฟล์นั้นเคยบรรจุอยู่ แล้วเลือก Restore Previous Version แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ

ใบงานที่ 14 สำรองและป้องกันความเสียหายของข้อมูล

การสำรองข้อมูล เป็นการคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพื่อทำสำเนา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากข้อมูลเกิดการเสียหายหรือสูญหาย โดยสามารถนำข้อมูลที่สำรองไว้มาใช้งานได้ทันที เช่น แฟ้มข้อมูลหนึ่งเก็บไว้
ในแผ่น Diskette และเก็บข้อมูลเดียวกันไว้ใน Harddisk ด้วย แถมยังเขียนลง CD-RW เก็บไว้ที่บ้านอีกทีหนึ่งก็คือ การสำรองข้อมูลหลายครั้ง เป็นการลดความเสี่ยงในการสูญเสียต่อข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น
ประโยชน์ของการสำรองข้อมูล
1.เพื่อป้องกันทั้งการ ลบ หรือ ทำข้อมูลสูญหาย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
2.?กู้ข้อมูลเก่า เพราะดันไปแก้ไขข้อมูลปัจจุบันแล้วมีปัญหา หรือไฟล์ที่มีใช้งานไม่ได้ต้องการกลับไปใช้ต้นฉบับก่อนหน้านี้
3.ป้องกัน อุปกรณ์เก็บข้อมูลเสียหาย หรือ โดนขโมย หากอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลหายไป เราก็สามารถใช้ข้อมูลที่เราสำรองไว้จากอุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวอื่นแทนได้

การ Backup ข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
1.ใช้โปรแกรม System Restore หนึ่งในโปรแกรมแบ็กอัพและรียกข้อมูลกลับคืน หากวินโดวส์มีปัญหาคุณก็สามารถใช้การ Restore ได้ทันที
2.ใช้โปรแกรม Backup Utility เมื่อต้องการใช้โปรแกรม Backup Utility ให้ไปที่ Start->All Programs -> Accessories -> System Tools ->Backup
3.แบ็กอัพข้อมูลด้วยอุปกรณ์ฮาร์แวร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายนอกผ่านพอร์ต USB เทปแบ็กอัพ ที่มักจะใช้กับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ ซิปไดรฟ์ (Zip Drive) เครื่องบันทึก DVD/CD นอกจากนั้นยังมีการใช้แฟลชเมโมรี่ความจุสูง รวมทั้งไมโครไดรฟ์ที่ใช้กับอุปกรณ์โมบายมาแบ็กอัพข้อมูลด้วยเช่นกัน
4.ใช้ backup program เช่น Symantec NetBackup, Symantec BackupExec,norton ghost,Microsoft DPM  เป็นต้น

การสำรองข้อมูลบางครั้งก็เรียกว่า  clone

การสำรองข้อมูลฐานข้อมูล
Directadmin Backup and restore the MySQL character set (collation)
FileMyster คืออะไร ไฟล์มาสเตอร์ โปรแกรม Backup สำรองข้อมูล
วิธี Backup และ Restore ฐานข้อมูล Mysql ด้วย Command line การ Import
ทำ Cpanel ให้ BackUp เป็นวัน แยกเป็น folder แต่ละวัน Restore Hosting

ใบงานที่ 13 การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอรรถประโยชน์

การแก้ไขปัญหาด้วยโปรแกรมยูทิลิตี้
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility program/software) เรียกสั้นๆ ว่า 
ยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย ยูทิลิตี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ 
ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility program) และ ยูทิลิตี้อื่นๆ (stand-alone utility program)
เป็นชนิดหนึ่งของโปรแกรมระบบที่ใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการหลายชนิดด้วยกันได้มีการผนวกโปรแกรมยุติลิตี้มาพร้อมกับชุดระบบปฏิบัติการ เช่น โปรแกรม 
Scandisk , Disk Defragmenter , System Restore เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมยูลิตี้ต่าง ๆ ที่นิยมใช้กัน เช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (Winzip) , Anti Virus ,
Screen Saver เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ประกอบด้วย 
- ระบบปฎิบัติการ 
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ 
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) 
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 
- ซอฟต์แวร์เฉพาะ
ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software)
1. ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ 
ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การนำเข้าข้อมูลของอุปกรณ์
นำเข้า การประมวลผลของหน่วยประมวลผล การจัดสรรหน่วยความจำสำรอง และการแสดงผลของอุปกรณ์
แสดงผล เป็นต้น เมื่อผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ชุดคำสั่ง
นั้นก็คือ “ซอฟต์แวร์ระบบ” นั่นเองซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการการเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุระบบปฏิบัติการ
เข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมใช้ คือ 
ระบบปฏิบัติการ (operating system) เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
1.1 ระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System :DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งาน
จึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะคำสั่ง 
ในระบบปฏิบัติการดอส เช่น 
C:\>copy C:\mydocument\data.doc A:\myfile
คำสั่งนี้เป็นการใช้คำสั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูลชื่อ data.doc ที่อยู่ใน Drive C Folder mydocument เอาไปไว้ที่
Drive A ใน Folder myfile
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่อง
มินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ 
งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรก เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ 
คือมีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu) หรือสัญรูป (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร
์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น
ระบบปฏิบัติการวินส์โดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทั้งนี้นอกจากจะเป็นความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติ
การนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท เช่น ซอฟต์แวร์ในกลุ่ม
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้
ใช้ในทุก ๆ ด้าน ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วินโดวส์ 3.0 (Windows 3.0) ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่
ทำงานบนเครื่องเดียว พัฒนาเป็นรุ่นหรือเวอร์ชั่น ที่สามารถทำงานเป็นกลุ่ม หรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
และพัฒนาต่อมาเป็นวินโดวส์ 95 (Windows 95) วินโดวส์ 98 (Windows 98) วินโดวส์เอ็มอี (Windows ME) และพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้าน
การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น วินโดวส์ เอ็นที (Windows NT) 
วินโดวส์ 2000 (Windows 2000) และวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) หรือแม้แต่ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร
์พกพาอย่างวินโดวส์ ซีอี (Windows CE) ระบบปฏิบัติการโอเอสทู (OS2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดวส์ 
แต่บริษัท ผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และ การใช้งาน
ก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยนักศึกษาชื่อว่า 
“Linus Torvalds” จากประเภทฟินแลนด์ LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX แต่มี ขนาดเล็กกว่า
และทำงานได้เร็วกว่า ในช่วงแรกของการพัฒนา LINUX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และพัฒนาขึ้น
มาเพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมใน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น 
จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของ LINUX เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่าย และผู้ใช้ต้องเสียค่า
ใช้จ่ายด้วยมีรายละเอียดเพิ่มเติม
1.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) 
เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน เพิ่ม หรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งาน 
อยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมอรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เช่น
Windows Explorer เป็นเครื่องมือแสดงไฟล์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูภาพ และแก้ไของค์ประกอบของไฟล์ได้ 
Uninstaller เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำการติดตั้งไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรแกรม ระบบปฏิบัติการจะทำการบันทึกโปรแกรมนั้นไว้ในระบบไฟล์ หากผู้ใช้ต้องการลบโปรแกรมนั้นออกจากเครื่องก็สามารถใช้ 
เครื่องมือยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมได้ 
Disk Scanner เป็นเครื่องมือตรวจสอบดิสก์ เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการซ่อมส่วนที่เสียหายได้ 
ฯลฯ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) 
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อจำหน่าย ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรง 
โดยไม่ต้องไปพัฒนาเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป .เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์
ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงาน
ของตน เช่นครูนำมาใช้ในการผลิตสื่อการสอน นักเรียนนำมาใช้ในการทำรายงาน เป็นต้น หรือผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนา
ชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไป ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า 
ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือ
- ด้านประมวลผลคำ 
- ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือตารางทำงาน 
- ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล 
- ด้านกราฟิก และนำเสนอข้อมูล 
- ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกล 
- ด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะ 
- ด้านการลงทุนและจัดการการเงิน 
- ด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม 
- ด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจ 
กลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานมาก และจำเป็นต้องมีประจำหน่วยงาน คือ ซอฟต์แวร์ ด้านการประมวลผลคำ 
ด้านตารางทำงาน ด้านระบบฐานข้อมูล และด้านกราฟิก ซอฟต์แวร์สำเร็จส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์เชิงพาณิชย์
ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้นเฉพาะ กลุ่มแรก คือโปรแกรมประมวลคำที่ประเทศไทยมีการสร้าง และพัฒนาขึ้นมาเอง 
เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานร่วมกับภาษาไทย และยังมีการนำซอฟต์แวร์เดิมมาดัดแปลงและเพิ่มเติมส่วนที่ใช้งานเป็นภาษาไทย
1) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software)
เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับการพิมพ์เอกสาร หน้าที่ของซอฟต์แวร์ประมวลผลคำคือ เป็นซอฟต์แวร์ใช้
สำหรับจัดพิมพ์เอกสาร จัดทำรายงาน รวมทั้งงานพิมพ์ต่าง ๆ โดยบันทึกหรือพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ลงในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์แล้วลงในหน่วยความจำรองเพื่อใช้งานในภายหลังได้ด้วย ซึ่งในสมัยก่อนการพิมพ์
เอกสารต่าง ๆ ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ ซึ่งจะต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญของผู้พิมพ์ ซึ่งเมื่อเกิดการพิมพ์
ผิดพลาดต้องใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด หรือบางครั้งต้องพิมพ์เอกสารนั้นใหม่ เพราะไม่สามารถจะแก้ไขใน
เอกสารเดิมได้ หรือการเคลื่อนย้ายกลุ่มข้อความที่พิมพ์แล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ ในกรณีที่มีงานพิมพ์ปริมาณมาก
หรือเนื้อหามีรูปแบบซ้ำ ๆ กันผู้พิมพ์ดีดก็ต้องพิมพ์เอกสารเหล่านั้นใหม่ทุกครั้ง ทำให้เกิดปัญหาการพิมพ์ผิดพลาด
การทำงานซ้ำ ๆ ทำงานปริมาณมาก ในปัจจุบันมีการนำเอาซอฟต์แวร์ประมวลผลมาใช้งาน ซึ่งอำนวยความ
สะดวกในการทำงานเป็นอย่างมาก สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนการพิมพ์เอกสารอีกด้วย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำมีคุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานดังต่อไปนี้
สามารถพิมพ์เอกสารโดยแสดงผลบนจอภาพทำให้ง่ายต่อการตรวจทาน และแก้ไข 
สามารถแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดพลาดได้โดยง่าย เช่น การลบข้อความที่พิมพ์เกินหรือการแทรกข้อความที่ตกหล่น 
รวมทั้งการแก้ไขคำผิด เป็นต้น 
สามารถเคลื่อนย้ายข้อความหรือประโยคจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายในเอกสารเดียวกัน หรือต่างเอกสารกันได้โดยง่าย 
สามารถจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์ขึ้น ในหน่วยความจำรองเพื่อนำมาใช้งานได้ภายหลัง โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารนั้นซ้ำอีก 
สามารถค้นหาคำ หรือประโยค ได้ 
ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบของประโยค ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ทางภาษา และวิเคราะห์ความน่าอ่าน
หรือความสละสลวยของเอกสาร วิธีการของการตรวจสอบนี้จะใช้หลักวิชาทางปัญญาประดิษฐ์ว่าด้วยกฏ 
และข้อเท็จจริงของภาษาศาสตร์ 
ต่าง ๆ เช่น การสะกดคำ การตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ รวมทั้งการใช้ศัพท์บัญญัติต่าง ๆ 
เป็นต้น 
เอกสารที่จัดพิมพ์สวยงามน่าอ่าน เช่น สามารถกำหนดขนาด และรูปแบบของตัวอักษร รูปแบบของเอกสาร กำหนดสีตัวอักษร การนำภาพมาประกอบในเอกสารที่พิมพ์ได้ และการสร้างข้อมูลในรูปแบบตารางได้อีกด้วย ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ได้แก่
Microsoft Word, Pladao Writer
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในงานด้านการคำนวณ หลักการทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน คือ การให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนกระดาษทำการหรือเวิร์คชีด (worksheet) ของผู้ใช้งานซึ่งทำงานในรูปของคอลัมน์ 
(column) และแถว (row) โดยนำตัวเลขที่บันทึกในแต่ละแถว หรือคอลัมน์ มาทำการคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร
์ที่กำหนดไว้เช่น การนำตัวเลขในแถวหรือคอลัมน์ใดมาคำนวณเพื่อจัดเป็นค่าของคอลัมน์ใหม่ เมื่อมีค่าในคอลัมน์ 
หรือแถวใดเปลี่ยนไป ค่าที่สัมพันธ์กันจะเปลี่ยนตามไปด้วยโดยอัตโนมัติจุดเด่นที่สำคัญของซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้คือ ช่วยทำให้งาน
คำนวณสะดวก รวดเร็ว ซึ่งสามารถกำหนดค่าของข้อมูลเพื่อคำนวณผลลัพธ์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ รวมทั้งความสามารถในการ
แสดงผลลัพธ์ในรูปของตาราง และกราฟ หรือแผนภูมิต่าง ๆ ได้ซึ่งทำให้สามารถอ่านผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้น
ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ มีคุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานด้านต่อไปนี้ 
- สามารถบันทึกข้อมูลซึ่งเป็นได้ทั้งตัวเลขข้อความ และสูตรทางคณิตศาสตร์ในแต่ละช่องของกระดาษทำการ โดยคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้ 
- สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลจากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งในกระดาษทำการ 
ซึ่งปรากฏบนจอภาพได้โดยง่าย 
- สามารถคัดลอกข้อความ ตัวเลข หรือสูตรคณิตศาสตร์จากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งได้โดยไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลชุดดังกล่าวใหม่ 
- สามารถแก้ไขเพิ่มเติม ลบข้อมูลตัวเลข ข้อความ หรือสูตรคณิตศาสตร์ ได้สะดวก 
- สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในกระดาษทำการไว้ในหน่วยความจำรองเพื่อใช้งานในภายหลังได้ 
- สามารถแสดงผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ การพิมพ์ผลลัพธ์อาจจะพิมพ์ผลออกทางเครื่องพิมพ์ในรูปของเอกสาร หรือจัดทำเป็นสไลด์หรือแผ่นใสเพื่อใช้ในการนำเสนอได้ 
ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel และ Pladoa Clc เป็นต้น
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ปัจจุบันนี้มีข้อมูลมีบทบาทสำคัญทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน และการวางแผนการตัดสินใจ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้งานด้านการจัดการฐานข้อมูลจึงนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยงานด้านการจัดเก็บข้อมูล 
ให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการจัดเก็บ และการเรียกข้อมูลที่จัดเก็บออกมาใช้ได้ง่าย
คุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการจัดการข้อมูล คือ
การจัดเก็บข้อมูลมีความซ้ำซ้อน ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ 
การค้นหาข้อมูลจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บมีหลายชุด ซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นหา 
การดูแลรักษา และปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัยจะยุ่งยาก เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อูลซึ่งจัดเก็บหลายชุด ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีมากมายหลายโปรแกรม ส่วนใหญ่เน้นการใช้งานที่ง่าย และใช้งาน ในระดับตั้งแต่ผู้ใช้คนเดียว 
หรือเชื่อมโยงเป็นกลุ่ม ตลอดจนเชื่อมต่อฐานข้อมูลอื่น ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Microsoft Access และ MySQL เป็นต้น 
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้งานด้านการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ในรูปแบบสไลด์ ซึ่งในการแสดงผลจะต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ ข้อความเข้าใจง่าย กระชับได้ใจความ สามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟ ข้อความ
รูปภาพ หรือเสียงได้ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Power Point เป็นต้น
5 ) ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิก
ซอฟต์แวร์ชนิดนี้มีเครื่องมือสามารถปรับเปลี่ยนรูปภาพให้ได้ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ปรับความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพมาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือน
การสร้างศิลปะ นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่าง ๆ ได้ บางโปรแกรมสามารถ
เชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้า เช่น เครื่องกราดตรวจ จากกล้องดิจิทัล สามารถจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลสามารถ
นำมาแก้ไขได้อีก ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Photoshop, Paint Brush เป็นต้น
6) ซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกขนาดสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อติดต่อ สื่อสารกันได้ผ่าน
ระบบเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศต่าง ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ชนิดนี้ควบคุมการติดต่อสื่อสารทั้ง
ในเครื่องผู้ส่ง และในเครื่องผู้รับด้วย ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
มีหลายชนิดตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการรับส่งแฟกซ์ การสนทนา การส่งจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ การพูดคุยด้วยไมโครโฟน การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จะต้องใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปท
ี่เรียกว่า Web Browser หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Browser ซอฟต์แวร์เหล่านี้บางครั้งเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีพร้อมกับ
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ เช่น Browser Internet Explorer ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
2.2 ซอฟต์แวร์เฉพาะ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่จะต้องมีการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ ก่อนการพัฒนาขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานได้ตามความต้องการนั้น การพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ชนิดนี้ส่วนใหญ่เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในงานด้านธุรกิจ ที่ผู้ใช้ไม่สามารถหาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งานได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น ระบบงานบัญชี ระบบงานคลังสินค้า 
ระบบงานขาย ระบบงานห้องสมุด ระบบงานทะเบียนประวัติ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเว็บ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องว่าจ้างนักพัฒนาระบบหรือบริษัทรับพัฒนาระบบ ให้วิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบระบบ เขียนโปรแกรม 
และติดตั้งเพื่อใช้งาน ดังนั้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้จึงตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
3. ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้งานกันทั่วไป จะต้องได้รับการพัฒนาหรือสร้างขึ้นโดยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ 
ซึ่งเรียกว่า โปรแกรมเมอร์โดยโปรแกรมเมอร์จะต้องเขียนชุดคำสั่งอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และชุดคำสั่งเหล่านั้นจะต้องเป็น”ภาษา” (Language) ที่เครื่องคอมพิวเตอร
์สามารถเข้าใจได้ หรือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจก็จะต้องใช้ “ตัวแปลภาษา” (Translator) เป็นสื่อกลาง 
ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง
3.1 ภาษาเครื่อง
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
3.2 ภาษาระดับต่ำ
เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียน ดังนั้นจึงมีผู้นิยมใช้น้อย ได้มีการพัฒนาภาษคอมพิวเตอร์
ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน และใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บ
จำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า ภาษาอิงเครื่อง 
(machine – oriented language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาท
ี่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน การใช้โปรแกรมท
ี่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรม
จากภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน โดยอาศัยโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปล 
โปแกรมภาษาแอสเซมบลีของชนิดอื่น ๆ ได้ ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้อง
เข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้น
อยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
3.3 ภาษาระดับสูง
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือ ลักษณะของคำสั่งจะ
ประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายในทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี C และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่งเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
การแปลภาษาระดับสูงให้ภาษาเครื่องโปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
คอมไพเลอร์ (compiler) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (source program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (object program) 
ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วยภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปล และประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

ใบงานที่ 12 การตรวจและกำจัดไวรัส

1. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
          การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นสิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรก  เพราะโปรแกรมเหล่านี้เป็นเหมือนบอดี้การ์ดที่ทำหน้าที่ปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ  โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำหน้าที่หลักอยู่สามส่วนคือ ป้องกันไวรัสที่จะเข้ามาในเครื่อง  เป็นการตรวจดูไฟล์ที่จะเข้ามาในเครื่องว่าจะเป็นไวรัสหรือไม่ ? ตรวจจับไวรัสที่เล็ดลอดเข้ามา  สแกนไฟล์ที่อยู่ในเครื่องว่าเป็นไวรัสหรือไม่? กำจัด (Delete)หรือกักกัน (Quarantines) ในกรณีที่พบไฟล์ไวรัส  โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำการลบไฟล์นั้นทิ้ง  แต่ถ้าพบว่าเป็นไฟล์ที่มีความเสียง  แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไฟล์ไวรัสหรือลบไม่ได้  โปรแกรมจะทำการกักกันไฟล์ไม่ให้มีการทำงาน โดยการทำงานในสองส่วนแรกจะใช้การเปรียบเทียบฐานข้อมูลการทำงานของไวรัส (Definition)  กับไฟล์ต้องสงสัยว่าเข้าข่ายที่จะเป็นไฟล์ไวรัสหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลบหรือกักกันไฟล์ต้องสงสัยต่อไป

2. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตรวจและกำจัดไวรัส
          โปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท  ตามแต่ที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะประกาศสินค้าออกมาแต่ตัวที่สำคัญ ๆ ที่คุณควรรู้จักจะมีอยู่ไม่กี่ตัว นั่นคือ Anti-Virus เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ป้องกันไวรัส รวมไปถึงสปายแวร์ (Spyware) และแอดแวร์ (Adware)  ได้บางส่วน Firewall  เป็นระบบป้องกันการบุกรุกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาติ  ป้องกันการโจมตีโดยที่คุณไม่รู้ตัว Anti-Spyware  เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจำพวกสปายแวร์และแอดแวร์โดยเฉพาะ  ซึ่งโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจมีการควบคุมที่ง่าย  ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้  โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก  โดยทั่วไปโปรแกรมเหล่านี้จะมีแยกขายเป็นตัว ๆ  แต่ก็มีการนำเอาโปรแกรมทั้งหมดมารวมกัน  และเพิ่มระบบรักษาความปลอกดภัยอื่น ๆ   เช่น  โปรแกรมป้องกันสแปมเมล์  (Spam Mail)  หรือโปรแกรมกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (Content  Filtering)  เข้ามารวมเป็นชุดโปรแกรม Internet  Security  ซึ่งชุดโปรแกรมนี้จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี และครบถ้วนแต่ผู้ใช้ก็ต้องมีความรู้ในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยมากพอสมควร

3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น
          ในการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส  หลาย ๆ  คนยังไม่รู้วิธีการติดตั้งที่ถูกต้องนัก  ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมอย่างถูกวิธีไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากอะไรเพียงแค่ลำดับความสำคัญของโปรแกรมให้ถูกก็พอ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสนั้น  ควรทำหลังจากที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ระบบมีความสะอาดมากที่สุด  และทำการอัพเดตให้โปรแกรมป้องกันไวรัสมีฐานะฐานข้อมูลของไวรัสล่าสุดจนถึงวันที่ติดตั้งโปรแกรม จากนั้นก็ทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ  ลงไป  เพื่อเป็นการเช็กว่าโปรแกรมเหล่านั้นมีไฟล์ไวรัสแฝงมาหรือไม่  และขั้นตอนสุดท้ายค่อยก็ทำการย้ายไฟล์ข้อมูลกลับเข้ามาเก็บไว้ในเครื่อง อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ  ลงไปก่อนก็ได้ไม่ว่ากัน  ถ้ามั่นใจว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้  แล้วจึงติดตั้งโปรแกรมติดตั้งไวรัสในขั้นตอนต่อมา  และทำการอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสในทันสมัย  ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้ามาเก็บเป็นขั้นตอนสุดท้าย  เพราะโอกาสที่ไวรัสจะแฝงเข้ามากับข้อมูลที่คุณมีอยู่  มีความเป็นไปได้สูง  กว่าไวรัสที่แฝงมากับโปรแกรม

4. อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ         
          การอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะหลงลืมอยู่เป็นประจำ หลาย ๆ  คนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันไวรัสว่าเมื่อติดตั้งโปรแกรมไปแล้วจะสามารถป้องกันไวรัสได้ตลอดไป  นั้นถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด  โปรแกรมป้องกันไวรัสมีหน้าที่ในการป้องกันไวรัส  แต่ผู้พัฒนาไวรัสเองก็มีการพัมนารูปแบบของไวรัสใหม่ ๆ  ออกมาให้สามารถทำงานทะลุทะลวงโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ไม่มีการอัพเดตฐานข้อมูลได้ ถ้าไม่มั่นใจก็ให้คุณเปิดโปรแกรมป้องกันไวรัสขึ้นมา  แล้วมาหาคำสั่ง Updates  เมื่อเจอก็คลิ๊กเลย  โปรแกรมจะทำการอัพเดตฐานข้อมูลให้คุณควรทำอย่าน้อยวันละครั้งถ้าทำได้  แต่ถ้าทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตก็ควรทำการอัพเดตทันที  เพราะหากคุณทิ้งไว้นานเกินไป  การอัพเดตจะใช้เวลานานมาก  และบางครั้งในช่วงที่คุณไม่ได้อัพเดต  คุณอาจจะโดนไวรัสเล่นไปแล้วก็ได้
5. เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
          โดยทั่วไปโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีอายุการงานประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นผู้ผลิตจะออกโปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ออกมา บางคนอาจจะคิดว่าเราจะเสียเงินไปซื้อโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ทำไม ในเมื่อเวอร์ชันเก่าก็ยังใช้ได้ และยังอัพเดตฐานข้อมูลได้ จริงอยู่ครับที่เมื่อหมดปีคุณยังสามารถใช้งานโปรแกรมเวอร์ชันเก่าได้ แต่โปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ที่ออกมาจะมีการพัฒนาระบบการทำงานภายใน เพื่อให้สามารถรับมือกับไวรัสได้ดีขึ้น รวมไปถึงอาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชันบองอย่างที่ช่วยให้คุณใช้งานโปรแกรมได้สะดวก ง่าย และปลอดภัยกว่าเดิม เช่น ลดขนาดไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสให้มีขนาดเล็ก ทำให้การอัพเดต สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น

6. อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อย่ารับไฟล์แปลกหน้า
          แม้ว่าคุณจะอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอแค่ไหนก็ตาม แต่ความจริงอย่างหนึ่งที่คุณควรรู้คือ ไฟล์ดัพเดตนี้ก็มีขึ้นหลังจากที่เกิดไวรัสขึ้นแล้ว นั่นหมายถึงคุณก็ยังมีโอกาสติดไวรัสได้ตลอดเวลา การป้องกันอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำเองได้ก็คือ ไม่พยายามรับไฟล์แปลกๆ เพราะไฟล์เหล่านั้นอาจจะมีไวรัสแฝงมา ในสมัยก่อนไฟล์เหล่านี้อาจจะส่งมาจากคนที่เราไม่รู้จักแต่ไวรัสสมัยใหม่ก็ฉลาดพอที่จะขโมยรายชื่ออีเมล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนรู้จักของคุณ ดังนั้นอย่าไว้ใจไฟล์ที่ส่งมา ถ้าไม่มั่นใจจะใช้วิธี MSN หรือโทรไปถามก็ได้ครับว่า เพื่อนหรือเจ้านายของคุณส่งไฟล์นี้มาหรือไม่ และคุณควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเว็บไซต์ของผู้ผลิตโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีการอัพเดตข่าวอยู่เสมอๆ

7. ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว
          ติดไวรัสแล้วทำยังไง ก่อนอื่นอย่ากลัวหรือเพิ่งตื่นตกใจไป ลองเช็คอาการที่เกิดขึ้น แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัสหาข้อมูลว่า ไวรัสที่เล่นงานคุณชื่อว่าอะไร และมีโปรแกรมแก้ไขไหม (Removal Tools) ถ้ามีก็ดาวน์โหลดมาใช้งาน เพื่อทำการลบไวรัส จากนั้นก็เปิดเครื่องให้อยู่ในระบบ Safa Mode ขั้นตอนต่อไปทำการอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด แล้วรีบูตเครื่องอีกครั้งตามปกติแล้วทำการสแกนไวรัสในเครื่องอีกครั้ง เพื่อหาไฟล์ไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ต้องทำใจฟอร์แมตใหม่

ใบงานที่ 11 การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่นเป็นประจำ
- ห้ามทำน้ำหกบนแป้นพิมพ์
2.การดูแลรักษาจอภาพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette)
1. อาจซื้อ filter ช่วยในการกรองแสงเพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวกราบรื่น ไม่แสบตาจนเกินไป หรืออาจปรับปุ่มด้านล่างของจอ เพื่อปรับแสงสว่างของจอ ให้มีความเหมาะสม

2. สามารถทำความสะอาดจอภาพได้โดยการใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้ง เช็ดจอภาพให้สะอาด 

3. หลังจากใช้งานแล้วให้ใช้ผ้าคลุมจอภาพทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละออง 

4. ไม่ควรเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆโดยที่ไม่มีการใช้งานเลย เพราะจะทำให้จอภาพเสื่อมลงได้ ถ้าจำเป็นต้องเปิดจอทิ้งไว้ ควรตั้งโปรแกรม Screen Saver เพื่อช่วยรักษาจอภาพ
3.การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- วางเมาส์ไว้ที่แผ่นรองเมาส์ เมื่อใช้งานทุกครั้ง
- ทำความสะอาดบริเวณลูกกลิ้งของเมาส์
- อย่าเคาะเมาส์แรง ๆ กับพื้น
4.การดุแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer)
- ควรให้เครื่องอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ
- อย่าทำน้ำหรืออาหารหกใส่ตัวเครื่อง
- ปิดเครื่องพิมพ์ทุกครั้งหลังจากใช้งาน
- เมื่อกระดาษติดให้ค่อยๆ ดึงกระดาษออกมา
5.การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette)

- ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
- ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้น หรืออุณภูมิสูง
- ไม่ควรนำแผ่นดิสก์เข้าใกล้กับวัตถุที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก
- ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ ถ้าจะต้องเขียนให้เขียนลงบนป้ายชื่อที่มีไว้ สำหรับปิดบนแผ่นดิสก์
- ไม่ควรขีดเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะทำให้่แผ่นซีดีเกิดรอยขีดขวน และเสียหายใช้งานไม่ได้
- ไม่ควรใช้มือจับบริเวณด้านหน้าของแผ่นซีดี
- ไม่ควรงอแผ่นซีดี อาจจะทำให้แผ่นซีดีมีโอกาสแตกหักได้ง่าย